ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 12 และมาตรา 13 ได้บัญญัติเกี่ยวกับลักษณะและหลักเกณฑ์รับแลกไว้โดยสังเขปดังนี้
ลักษณะเหรียญกษาปณ์ชำรุด ม.12
- ชำรุดที่เกิดจากการใช้ โดยธรรมดา สึกกร่อน ไปตามธรรมชาติจนน้ำหนักลดลงเกินกว่า สองเท่า ครึ่งของอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ตามมาตรา 12 (2)
- ชำรุดที่เกิดจากการถูกกระทำ เช่น เหรียญที่ถูกตัด ถูกตอก ถูกตีหรือถูกกระทำด้วยประการใด ๆ ให้บุบสลายหรือชำรุดจนเสียรูป หรือลวดลาย ลบเลือน หรือทำให้น้ำหนักลดลง ไม่ว่าโดยเหตุใด ที่ปรากฏโดยชัดแจ้ง ตามมาตรา 12 (1)
- เหรียญกษาปณ์ชำรุดที่เป็นทองคำ เหรียญเงิน หรือ เหรียญกษาปณ์ขัดเงา
หลักเกณฑ์การรับแลกเปลี่ยน ม.13
- รับแลกเปลี่ยนได้ เต็มราคาตามราคาหน้าเหรียญ
- รับแลกเปลี่ยนได้ครึ่งราคาของเหรียญกษาปณ์นั้น ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับแลกเปลี่ยนเหรียญกษาปณ์ชำรุด พ.ศ. 2548 ออกตามความในพระราช บัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 คือ
- ต้องสามารถมองเห็นลวดลายด้านหน้าหรือด้านหลัง ว่าเป็นเหรียญกษาปณ์และสามารถทราบได้ว่าเป็นเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาใด
- ต้องไม่เจาะรูทะลุทั้ง 2 ด้านเกินกว่า 2 ใน 5 ของขนาดเดิมหรือต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของน้ำหนักเหรียญกษาปณ์
- ขอบด้านนอกของเหรียญกษาปณ์ต้องไม่ถูกตัดขาดออกไปเกินกว่า 2 ใน 5 ของขนาดเดิม หรือต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของน้ำหนักเหรียญกษาปณ์
- * หากเหรียญกษาปณ์ชำรุดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ (1 – 3) ไม่รับแลกเปลี่ยน
- ไม่รับแลกแลกเปลี่ยน
*ลักษณะ เหรียญกษาปณ์ชำรุดตามข้อ (2) ที่นำมาแลกเปลี่ยนครึ่งราคาตามหลักเกณฑ์ เมื่อคำนวณ มูลค่าแล้วต้องสามารถแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตร หรือ เหรียญกษาปณ์อื่นใดเป็นจำนวนเงินอย่างน้อยยี่สิบห้าสตางค์ คือ เหรียญกษาปณ์ที่ขอแลกคืนครึ่งราคาต่ำสุดคือราคาห้าสิบสตางค์
ผู้ประสงค์จะขอแลกเปลี่ยนเหรียญกษาปณ์ชำรุด ขอแลกเปลี่ยนได้ที่สำนักบริหารเงินตรา กรมธนารักษ์ ถนนจักรพงษ์ กรุงเทพฯ สำนักงานคลังจังหวัด หรือสำนักงานคลังอำเภอทั่วราชอาณาจักร และ ศาลาธนารักษ์ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ศาลาธนารักษ์ 2 จังหวัดสงขลา