เหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง)
รหัสเหรียญ : 52009
ประเภทเหรียญ : เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 10 บาท ออกใช้เป็นเงินหมุนเวียนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 โดยผลิตเป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสีแทนการใช้ธนบัตรราคา 10 บาท ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว ด้านหน้าของเหรียญเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ส่วนด้านหลังเป็นภาพของ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม มี พ.ศ. ที่ผลิตอยู่บนด้านพระปรางค์
เหรียญกษาปณ์รุ่นแรก มีการผลิตขึ้นใช้ระหว่างปี พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2551[1] และเมื่อมี พ.ศ. 2551 มีการปรับปรุงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนเป็นชุดใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิตลง และปรับภาพพระบรมฉายาลักษณ์ให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น[2][3] โดยเหรียญกษาปณ์ราคา 10 บาทมีการผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน[4] (เหรียญปี พ.ศ. 2551 มีทั้งชุดเก่าและชุดใหม่)
กลางเหรียญวงในซึ่งเป็นโลหะสี ทองมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงแลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรม ราชวงศ์และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ภายในวงนอกของเหรียญซึ่งเป็นโลหะสีขาว ด้านขวามีข้อความว่า “ภูมิพลอดุลยเดช” ด้านซ้ายมีข้อความว่า “รัชกาลที่ ๙” กลางเหรียญวงในซึ่งเป็นโลหะสีทองมีรูปพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร ภายในวงนอกของเหรียญซึ่งเป็นโลหะสีขาว เบื้องบนมีอักษรเบรลล์ซึ่งมีความหมายบอกราคาว่า “๑๐” เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า “๑๐ บาท 10” ด้านขวามีข้อความว่า “ประเทศไทย” ด้านซ้ายมี พ.ศ. และเลขของปี พ.ศ. ที่จัดทำเหรียญ
ผู้ออกแบบ สุภาพ อุ่นอารีย์
ข้อมูลการผลิตเหรียญ 10 บาท
ปีที่ผลิต | จำนวนที่ผลิต (เหรียญ) |
---|---|
2531 | 60,200 |
2532 | 100,000,000 |
2533 | 100 |
2534 | 1,380,650 |
2535 | 13,805,000 |
2536 | 10,556,000 |
2537 | 150,598,831 |
2538 | 53,700,000 |
2539 | 17,086,000 |
2540 | 9,310,600 |
2541 | 970,000 |
2542 | 1,030,000 |
2543 | 1,666,000 |
2544 | 2,060,000 |
2545 | 61,333,000 |
2546 | 49,292,000 |
2547 | 62,689,000 |
2548 | 111,491,000 |
2549 | 128,903,000 |
2550(แบบเก่า) | 179,165,360 |
2551(แบบใหม่) | 18,450,000 |
2552 | 59,107,733 |
2553 | 1,953,000 |
2554 | 3,000,000 |
2555 | ไม่มีข้อมูล |
2556 | ไม่มีข้อมูล |
2557 | ไม่มีข้อมูล |
2558 | ไม่มีข้อมูล |
2559 | ไม่มีข้อมูล |
2560 | 160,000,000 |
ข้อมูลเพิ่มเติม
น้ำหนัก : 8.5 กรัม | ราคา ณ วันประกาศใช้ : 10 บาท | ||||||||||||||||||||
วันที่ประกาศใช้ : 5 กุมภาพันธ์ 2551 | เส้นผ่าศูนย์กลาง : 26 มิลลิเมตร | ||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||
ชนิด : โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) | |||||||||||||||||||||
ราคาหน้าเหรียญ : 10 บาท | ประเภท : ธรรมดา | ||||||||||||||||||||
ลักษณะ : เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักรสลับเรียบ | |||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||
ส่วนผสม : | จำนวนการผลิต : | ||||||||||||||||||||
|
|
||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายวุฒิชัย แสงเงิน | ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางไพฑูรย์ ณ เชียงใหม่, นางปราณี คล้ายเชื้อวงศ์ | ||||||||||||||||||||
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายธรรมนูญ แก้วสว่าง | ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายปัญญา คำเคน |