เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในรัชกาลที่ 9 เริ่มผลิดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นปี ที่รัฐบาลไทย ได้น้อมเกล้าฯ จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 โดยผลิต 4 ชนิดราคา 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ และ 50 สตางค์ รุ่นต่อมาผลิตในปี พ.ศ. 2500 เพิ่มชนิดราคา 1 บาท และยังคงผลิต 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ และ 50 สตางค์ เช่นเดิม
เหรียญ 1 บาท พ.ศ. 2500 นี้ ( ประกาศใช้ 2501 )มีเงินเป็นส่วนผสม 3% จึงเป็นเหรีบญที่มีค่าของเนื้อวัสดุมากกว่าเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ในรุ่นต่อๆมา ( ซึ่งมีส่วนผสมเฉพาะ นิเกิลกับทองแดง ) เรียกว่าราคาวัสดุเกินหน้าเหรียญตั้งแต่วันที่ออกใช้งานเลยทีเดียว เหรียญรุ่นนี้จะสึกง่ายกว่ารุ่นต่อๆมา
เหรียญ 5 สตางค์ พ.ศ. 2500 มีการผลิต 3 เนื้อคือ อลูมิเนียมบรอนซ์ ( ทองเหลือง )( ผลิต 6,240,000 เหรียญ ) ดีบุก ( เหรียญตัวอย่าง/ผลิตน้อย ) และทองแดง ( ผลิต 46,440,000 เหรียญ ) ชนิดที่นักสะสมนิยมจะเป็นดีบุก
เหรียญ 10 สตางค์ พ.ศ. 2500 มีการผลิต 3 เนื้อคือ อลูมิเนียมบรอนซ์ ( ทองเหลือง ) ( ผลิต 13,365,000 เหรียญ ) ดีบุก ( เหรียญตัวอย่าง/ผลิตน้อย )และทองแดง( ผลิต 13,365,000 เหรียญ ) สำหรับเหรียญ 10 สตางค์ 2500 นี้ มีความพิเศษที่หางของเลข ๑ กรณีชนิดทองเหลืองหางยาวหายากมาก นักสะสมส่วนหนึ่งยกให้เป็นเหรียญหายากอันดับ 4 ราคาหลายพัน ทองแดงเลข ๑ หางยาวหายากน้อยกว่าราคาหลักร้อย เนื้อดีบุกผลิตน้อยหายากเป็นที่นิยมของนักสะสมเช่นกัน
เหรียญ 25 สตางค์ พ.ศ. 2500 อลูมิเนียมบรอนซ์ ( ทองเหลือง ) ( ผลิต 620,480,000 เหรียญ ) มีความพิเศษที่มี 2 พิมพ์ หนา-บาง นักสะสมส่วนหนึ่งยกให้พิมพ์บางเป็นเหรียญหายากอันดับ 3 ราคาหลักหมื่น
เหรียญ 50 สตางค์ พ.ศ. 2500 อลูมิเนียมบรอนซ์ ( ทองเหลือง ) ( ผลิต 439,874,000 เหรียญ ) เป็นเหรียญที่หาได้ง่ายราคาไม่แพง
ส่วนการผลิตเหรียญของกรมธนารักษณ์นั้นเขามีประเภทการผลิตดังนี้
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated Coins) |
|
เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มี 9 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท และ 1 บาท 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ แต่ที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมี 6 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท ,2 บาทและ 1 บาท 50 สตางค์, 25 สตางค์ ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น | |
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins) |
|
เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่าง ๆ เช่น เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 เป็นต้น โดยจัดทำ 2 ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา | |
เหรียญที่ระลึก (Medal) |
|
เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรงที่จะ ไม่มีราคาหน้าเหรียญ เนื่องจากมิใช่เงินตราจึงไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย | |
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด | |
เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด | |
เหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ | |
เหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ | |
เครดิตข้อมูล https://www.treasury.go.th/th/mint-circulating/