การตรวจพิสูจน์เหรียญปลอม

วิธีการตรวจพิสูจน์เหรียญกษาปณ์: การเปรียบเทียบเหรียญกษาปณ์ของรัฐบาลและเหรียญปลอม

การตรวจพิสูจน์เหรียญปลอม
วิธีการตรวจพิสูจน์เหรียญกษาปณ์
การเปรียบเทียบเหรียญกษาปณ์ของรัฐบาลและเหรียญปลอม
เหรียญกษาปณ์ของรัฐบาล เหรียญปลอม
1. ผลิตโดยรัฐบาล (กระทรวงการคลังรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มอบหมายให้ กรมธนารักษ์เป็นผู้ผลิต)  – เป็นการผลิต โดยลอกเลียนแบบเหรียญกษาปณ์ของ รัฐบาล เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็น เหรียญกษาปณ์ของรัฐบาล
2. มีการกำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด ลวดลาย และ ลักษณะอื่น ๆ (ถ้ามี) ของเหรียญกษาปณ์ รวมทั้งอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ในกฎกระทรวง  – ไม่ได้กำหนดชนิด โลหะ อัตราเนื้อโลหะ ขนาด ลวดลาย และอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด
3. เหรียญกษาปณ์ในชนิดราคาเดียวกันจะมีขนาด น้ำหนัก ลวดลาย และอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดเป็นมาตรฐานเท่ากันทุก ๆ เหรียญ  – เหรียญในราคาเดียวกันจะมีชนิดของโลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนักและขนาดที่แตกต่างกัน บางรุ่นน้ำหนักมากกว่า บางรุ่นน้อยกว่าเหรียญของรัฐบาล
4. สีของเหรียญกษาปณ์จะมีลักษณะเดียวและเสมอกันทุกเหรียญของชนิดราคานั้น ๆ  – สีของเหรียญในชนิดราคาเดียวกันจะแตกต่างกันตามแต่เนื้อโลหะ ที่ใช้ผสม ในการหลอมทำเหรียญแต่ละครั้งและสีมักจะหมองคล้ำ
5. ลวดลายและตัวอักษรบนเหรียญกษาปณ์ จะเด่นคม สวยงาม ชัดเจน เสมอกันทุกเหรียญ  – ลวดลายและตัวอักษรไม่เด่นคม มีลักษณะเบลอไม่ชัดเจนบางเหรียญลวดลายและตัวอักษรจะลบเลือน
6. พื้นผิวของเหรียญฯ เรียบ ลวดลายละเอียด กลมกลืน ตัวหนังสือคมชัด  – พื้นผิวของเหรียญหยาบ ลวดลายขาดความคมชัดและความกลมกลืน มองเห็นความแตกต่างชัดเจน บางส่วนของลวดลายลบเลือน
7. สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
1 สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 5 บาท
5, 10, 25, 50 สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 10 บาท
1 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 500 บาท
5 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 500 บาท
10 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท
 – ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ผู้ผลิต จำหน่าย หรือนำออกใช้ มีความผิดตามมาตรา 9 และ มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 มาตรา 9 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ จำหน่าย ใช้ หรือ นำออกใช้ ซึ่งวัตถุหรือเครื่องหมายใด ๆ แทนเงินตรา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลัง มาตรา 35 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 9 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เครดิตข้อมูลจาก http://business.treasury.go.th/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *